top of page
  • Writer's pictureOCSC EXPO ADMIN

เทคนิคในการเขียน Résumé เพื่อสมัครทุน Fulbright


นอกจาก SOP, SP และ Letter of Recommendation แล้ว ยังมีเอกสารประกอบการสมัครทุนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง และเป็นเอกสารที่คนมักจะมีความสับสนกันอยู่ นั่นคือ CV (Curriculum Vitae) และ Résumé (หรือจะเขียนว่า Resume ก็ได้) ซึ่งมักจะใช้เรียกแทนกันไปมา แต่ CV กับ Résumé มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยในเรื่องวัตถุประสงค์และความยาว ขณะที่ CV เป็นการให้ข้อมูลประวัติการศึกษาและการทำงานอย่างละเอียดยิบ มีความยาวไม่จำกัด Résumé จะเป็นการสรุปประเด็นสำคัญของตัวเราที่เกี่ยวข้องกับการสมัครงาน สมัครเรียน หรือสมัครทุนนั้น ๆ ซึ่งจะยาวไม่เกิน 2 หน้า ประมาณว่าต้องให้คนอ่านสามารถรู้จักเราได้ในเวลาที่สั้นที่สุด สำหรับการสมัครทุนฟุลไบรท์ ส่วนใหญ่เราจะขอเป็น Résumé ซึ่งจะสั้นกว่า ตรงประเด็นกว่า ดังนั้นวันนี้ก็เลยจะมาชวนคุยเรื่องการเขียน Résumé กัน

หลัก ๆ เลย Résumé จะประกอบด้วย 1. Name and Contact Information ปกติชื่อ-นามสกุลจะอยู่ด้านบนสุดและเด่นเป็นพิเศ


ษ ตามมาด้วยที่อยู่ เบอร์ติดต่อ อีเมล ถ้ามีเว็บไซด์ หรือบล็อกก็ใส่ด้วยได้ ตรงนี้ขอย้ำนิดนึงว่าที่อยู่ เบอร์ติดต่อ และอีเมล ควรจะสามารถติดต่อได้จริงและเขียนให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นเราอาจเสียสิทธิโดยไม่รู้ตัวได้ อีกอย่างนึงคือ เบอร์อีเมลที่ใช้ควรมีหน้าตาที่ดูเป็นทางการ น่าเชื่อถือ พวกที่เป็นชื่อในวงการหรือมีเอกลักษณ์มากเกินไปจะทำให้คนอ่านรู้สึกว่าเราไม่มีวฺฒิภาวะพอ

2. Objective /Personal Profile เป็นข้อความสั้น ๆ ที่ช่วยให้คนอ่านรู้จักเราได้ทันที อาจจะพูดถึงทักษะสำคัญ ความคาดหวัง หรือเป้าหมายในอนาคต ขอยกตัวอย่าง personal profile ที่สร้างสรรค์มากจากเพจ University of Maryland

“Senior with a head full of ideas, a case full of pencils, and the design skill to propel any design project to the next level. Enthusiastic, with a healthy sense of humor and skills in a variety of traditional and digital mediums.”

Ref.

https://careers.umd.edu/.../TerpGuide2018%20-%20Graphic...

แน่นอนว่า objective/personal profile นี้ควรต้องสอดคล้องกับโปรแกรมที่สมัคร และตอบโจทย์ทุนนั้น ๆ

3. Education ประวัติการศึกษาปกติจะไล่จากล่าสุดลงไป โดยเน้นเฉพาะระดับอุดมศึกษาและให้รายละเอียดที่เป็นหลักฐานแสดงคุณวุฒิของเรา •ชื่อสถาบันการศึกษา ที่ตั้ง (จังหวัด ประเทศ) •ปริญญาที่ได้ (เช่น B.A. M.A. Ph.D.) สาขาที่เรียน (เช่น Education) เกรดเฉลี่ย (PGA – ถ้าได้เกรด 3ขึ้นไป) •อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ใบสมัครของเรา เช่น โปรเจคที่เคยทำ วิทยานิพนธ์ วิชาเลือก กิจกรรมชมรม/อาสาสมัคร หรือรางวัลสำคัญ ๆ

4. Work Experience ประสบการณ์ทำงานโดยมากก็จะเรียงจากล่าสุดลงไปเช่นกัน ส่วนนี้


จะให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับทักษะและศักยภาพของเราโดยมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็น reference สิ่งที่ควรใส่ในส่วนนี้จะได้แก่ •ชื่อที่อยู่ของหน่วยงาน ช่วงเวลาที่เราทำงานกับหน่วยงานนั้น ๆ •ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบโดยสรุป อาจจะเพิ่มทักษะสำคัญที่ได้เรียนรู้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม/ทุนที่เราสมัคร ซึ่งควรจะเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ และเป็นทักษะติดตัวเราไปไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

นอกจากเนื้อหาแล้ว หน้าตาของ Résumé ก็จะช่วยสะท้อนตัวตนของเราได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากเราต้องการให้คนอ่านรับสารได้เร็วที่สุด Résumé ของเราจะต้องอ่านง่ายสบายตา ตัวอักษรชัด มีช่องไฟเหมาะสม ไม่ใส่ลูกเล่นเยอะ แนะนำให้เน้นหัวข้อด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ + ตัวหนา ถ้าทำให้อยู่ในหน้าเดียวได้จะดีที่สุด เราสามารถปรับแต่งการวางข้อความให้เป็น 2 columns (ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับจากบนลงล่าง) โดยให้หัวข้อสำคัญอยู่ด้านบน เช่น คนที่มีประสบการณ์ทำงานมาพอสมควรอาจจะยกส่วน work experience และ skills ไว้ก่อน education ก็ได้



ใครที่มองหาตัวอย่าง หรืออยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน Résumé ขอแนะนำให้เข้าไปดูในเพจของ Purdue Online Writing Lab ของ Purdue University และ Division of Student Affairs ของ University of Maryland ตามที่อยู่ข้างล่าง

https://owl.purdue.edu/.../resumes_and_vitas/index.html https://careers.umd.edu/.../resumes-cover.../resume-samples ขอบคุณข้อมูลจาก: Fulbright Thailand


459 views0 comments
bottom of page